Pidion BIP-6000Max

Android handheld computer integrated with four different types of RF technology including HSDPA, WiFi, Bluetooth, and RFID reader.

LXE Honeywell TectonCS Sanning in Freezer

The TectonCS rugged handheld computer is built for your freezer and cold storage applications.

Toshiba TEC B-EV4D/B-EV4T Desktops Printer

Direct thermal and Thermal transfer printing Affordable and Effortless Printing for Every Business .

Bixolon SLP-T400 Thermal Transfer Label Printer

The BIXOLON SLP-T400 is the most comprehensive, cost-effective model of industrial thermal transfer label printers.

Point Man ID Card Printer TP-9100 เครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก

The TP9000/9100 is plastic card printer for identification card, membership card, certificate card, employee card etc,

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จัก Barcode ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม (ต่อ 2)

มารู้จัก Barcode ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม (ต่อ 2)

BARCODE มีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วเราจะคุ้นเคยกับรูปแบบที่เป็นสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่ใช้ตามร้านขายของอุปโภคบริโภคทั่วไป หรือซุปเปอร์มาร์เกต แต่ในความเป็นจริงแล้วรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ ด้านการผลิต หรือด้านธุรกิจขายปลีก ซึ่งรูปแบบสัญลักษณ์นี้อาจจะมีความเหมาะสมเฉพาะอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่แตกต่างกัน อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้

Warehouse


การเลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดให้เหมาะสมกับการใช้งานอุตสาหกรรม

  • คุณจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในลักษณะและสิ่งแวดล้อมแบบใด?
  • คุณจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้ในโรงงานหรือร้านขายของชำ?
  • คุณจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอย่างต่อเนื่องหรือเพียงแค่ครั้งคราว?
  • คุณต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่ต้องถือหรือไม่?
  • คุณต้องใช้เครื่องสแกนเนอร์เพื่อทำการอ่านรหัสในระยะใกล้หรือไกลจากรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง?
  • คุณจะนำเครื่องสแกนเนอร์ไปเชื่อมต่อในลักษณะใด?
  • คุณจำเป็นต้องนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านไปใช้งานทันทีหรือไม่?

โปรดจำไว้ว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเหมาะสม กับการใช้งานประเภทหนึ่ง ๆ อย่าตัดสินใช้ซื้อสแกนเนอร์เพียงเพราะคุณใช้ความรู้สึก เครื่องสแกนเนอร์ที่ราคาถูกอาจจะเหมาะสมกับงานที่ใช้เครื่องสแกนเนอร์เป็นครั้งคราวเท่านั้น และคงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องใช้สแกนเนอร์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจงตั้งคำถามและพยายามเฟ้นหาคำตอบให้ได้ก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด

อ้างอิงข้อมูล : http://www.engineerfriend.com/
Barcode Scanner
Frozen

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จักบาร์โค๊ดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม บาร์โค้ด


บาร์โค้ด

บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง ( Barcode) คือ สัญญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขและตัวหนังสือ มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันโดยมีตัวเลขกำกับด้านล่าง หรือบาร์โค้ดที่เป็นลักษณะคล้ายรูปภาพ ซึ่งใช้หลักการสะท้อนแสงเพื่อถอดรหัสและเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพราะใช้ตรวจสอบ ระบุ และตรวจนับสินค้าหรือเอกสารได้สะดวก  เร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
Barcode
รหัสบาร์โค้ดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนลายเส้นซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด  ส่วนข้อมูลตัวอักษรเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่างเป็นส่วนที่ใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสง) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด

การกำหนดมาตรฐานบาร์โค้ด เป็นวิทยาการการออกแบบสัญญลักษณ์ (Symbol Technology)ที่เข้ารหัสแทนข้อมูล เพื่อให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ โดยที่รูปแบบของบาร์โค้ดมีหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติของรูปแบบเฉพาะที่จัดทำเป็นมาตรฐานบาร์โค้ด ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปีทศวรรษ พ.ศ. 2510 และมาตรฐานบาร์โค้ดที่มีใช้กันมาก คือ EAN (European Article Number) และ UPC (Universial Product Code)


บาร์โค้ดสองมิติ

เนื่องจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติสามารถอ่านจำนวนข้อมูลได้จำกัด ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์บาร์โค้ดในปัจจุบัน

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่ รหัสคิวอาร์ (QR Code), ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix), รหัสอีซี (EZcode), รหัสแอซเทค (Aztec Code), เอ็มเอสแท็ก (MS Tag), และบาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์

2D Barcode
อ้างอิงข้อมูล : http://www.engineerfriend.com

เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลายรุ่น ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
เครื่องอ่านบาร์โค้ด


มารู้จัก Barcode ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม (ต่อ 2)

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

สติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด (Barcode Sticker)


สติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด (Barcode Sticker หรือ Label)

สติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด (Barcode Sticker หรือ Label) สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท

    1. Direct Thermal เป็นวัสดุที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์
    2. Thermal Transfer เป็นวัสดุที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon)ในการพิมพ์

     เทคโนโลยีทั้งสองแบบจะใช้หัวพิมพ์ชนิด Flat-Head ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดความร้อนบริเวณปลายของหัวพิมพ์ และโดยทั่วไปหัวพิมพ์จะมีความละเอียดที่ 200 dpi และ 300 dpi

    1.1 Direct Thermal เป็นวัสดุที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการพิมพ์
เทคโนโลยีการพิมพ์ลงบนกระดาษความร้อน โดยใช้หัวพิมพ์ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนทำหนาที่ถ่ายเทความร้อนมาที่กระดาษทำ ให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมี และทำให้สีที่กระดาษเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสีที่เปลี่ยนนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษด้วย โดยปกติการพิมพ์แบบนี้จะใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้นฯ เพราะกระดาษความร้อนจะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของแสง UV และความร้อน ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้


    2.1 Thermal Transfer เป็นวัสดุที่ต้องใช้ตัวกลาง (Ribbon) ในการพิมพ์

       เทคโนโลยีการส่งผ่านความร้อนไปยังแผ่นฟิล์ม หมึก(Ribbon) และหมึกก็จะถ่ายทอดไปสู่พื้ผิวหรือกระดาษอีกทีหนึ่ง แผ่นฟิล์มริบบ้อน ที่ใช้นี้จะเป็นแผ่นบางฯ ซึ่งประกอบด้วย wax หรือ wax/resin จะทำหน้าที่เป็นหมึกเมื่อโดนความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวและจะมาติดกับ ชิ้นงาน ไม่เหมือนกับ Direct transfer และจะไม่เกิดปฎิกิริยาทางเคมีเหมือนกระดาษความร้อน การพิมพ์โดยใช้ Thermal transfer ใช้กับประเภทสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon



ชนิดของ สติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด (Barcode Sticker หรือ Label) แบบ Thermal Transfer

  • POLY LASER - งานที่มีความร้อน
  • WHITE POLY - งานด้านอิเล็คทรอนิกส์, ทรัพย์สิน
  • BOPP - งานที่มีความเย็น
  • UPO - งานห้องเย็น
  • PP WHITE - งาน JEWELRY
  • LAMINATE - งานเครื่องสำอางค์
  • VOID - งานรับประกันสินค้า
  • TAG - งานโรงหนัง, เสื้อผ้า
  • FOIL - งานทรัพย์สิน, อุตสาหรรมเครื่องยนต์


    ข้อแตกต่างในการเลือกใช้งานสติ๊กเกอร์บาร์โค๊ด Direct Thermal กับ Thermal Transfer 

  • Direct Thermal - จะใช้ในงานที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าเร็ว ประเภทสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้
Thermal Transfer - จะใช้กับงานที่ต้องการความคงทนและมีอายุการใช้งานนาน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ทรัพย์สิน, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายด้าน Ribbon
อ้างอิงข้อมูล : http://www.labelone.co.th

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

การขอมีรหัสบาร์โค้ด

การขอมีรหัส Barcode

การขอมีรหัสบาร์โค้ดสามารถยื่นขอได้ที่ TANC เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยนำหลักฐานดังนี้ไปแสดงด้วย



  • บุคคลธรรมดา


  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  4. สำเนาใบ ภ.ง.ด.90,91 หรือสำเนาใบเสร็จชำระภาษี
  5. ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ


  • ร้านค้า


  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
  4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  5. สำเนาใบภ.ง.ด.90,91 หรือ สำเนาใบเสร็จชำระภาษี
  6. ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ


  • บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
  2. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หรือใบทะเบียนการค้า
  3. สำเนาหนังสือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20,ภพ.01 หรือ ภพ.09)
  4. สำเนางบกำไรขาดทุนของปีที่ผ่านมา
  5. ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ
อ้างอิงข้อมูล : http://www.technologymedia.co.th


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น 3
โทรศัพท์ 0-2229-4255 ต่อ 209,215,218 โทรสาร 0-2229-4939

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบของบาร์โค้ด (ต่อ 2)


ระบบของบาร์โค้ด (ต่อ 2)

  • EAN ยอดฮิต

          ปัจจุบันมาตรฐานที่ยอมรับกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ UPC และ EAN ระบบ UPC ถือเป็นบาร์โค้ดระบบแรกของโลก ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น มีหน่วยงาน Uniform Code Council [UCC] ตั้งอยู่ที่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ดูแล

           ส่วนระบบ EAN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ใช้กว่า 60 ประเทศ ในภาคพื้นยุโรป, เอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

           ประเทศไทยเลือกใช้ระบบ EAN-13 ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของเลขชุด 13 หลัก มีความหมายดังนี้
885 - 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
1234 - 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต
56789 - 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสของสินค้า
8 - ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดบาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้

อ้างอิงข้อมูล : http://www.technologymedia.co.th


วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบของบาร์โค้ด


ระบบของบาร์โค้ด

การติดบาร์โค้ดของสินค้านั้น ๆ โดยเฉพาะ นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการทำงานขึ้นแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงการใช้มาตรฐานการกำหนดเลขหมายที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอีกด้วย



ปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ


   1. UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. -2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

    • แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
    • แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
    • แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
    • แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น
   2. EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
    • แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
    • แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
    • แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13 บรรจุข้อมูลไม่หมด
    • แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น

   3. CODE 39 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.-2517 ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก 
   4. INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า หรือเรียก Cass Code
   5. CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515
   6. CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
   7. CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
   8. CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
   9. CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมาก มีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
   10. ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
   11. EAN / UCC 128 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล : http://www.technologymedia.co.th

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

WMS (Warehouse Management System)


Warehouse Management System

Warehouse Management System (WMS) คือ ระบบที่ใช้บริหารจัดการคลังสินค้า โดยจะมีกระบวนการจัดการตั้งแต่สินค้าเข้าคลังจนออกจากคลัง ซึ่งกระบวนการหลักคือ การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า และการเบิกสินค้า
WMS Warehouse Management System

การรับข้อมูลเข้า Receiving

ระบบ Warehouse Management System (WMS) สามารถ Reserve พื้นที่ หรือจองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบที่ดี เมื่อรับสินค้าเข้าคลังก็เอาไปตามใจชอบ สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่านำไปเก็บไว้ที่ไหน

1. Unitech Handheld laser scanner

แสกนรับข้อมูลสินค้าเข้าพร้อม Update Stock และแนะนำสถานที่จัดเก็บ 
MS815

2. Handheld Computer LXE MX series

แสกนรับข้อสินค้ามูลเข้าพร้อม Update Stock และแนะนำสถานที่จัดเก็บ
MX8

การจัดเก็บ Put away

ระบบ Warehouse Management System (WMS) สามารถ แนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง Manual : โดยผู้ตรวจเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บในตำแหน่งนั้นจริง Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริง ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้

1. Vehicle Mount Computers LXE VX series

แสกนสินค้าเก็บพร้อมยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง 
LXE VX8

2. Handheld Computer LXE MX series

แสกนสินค้าเก็บพร้อมยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง
MX8

การหยิบสินค้า Picking

ระบบ Warehouse Management System (WMS) จะมีระบบ Search เพื่อช่วยในการค้นหาได้อย่างง่ายดายแค่กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เองไม่ว่าจะเป็นการเบิกแบบ FIFO,LIFO,FEFO หรือสามารถกำหนดเองได้

1. Vehicle Mount Computers LXE VX series

แสกนหยิบสินค้าพร้อมยืนยันตำแหน่งหยิบสินค้าที่ถูกต้อง 

LXE VX8

2. Handheld Computer LXE MX series

แสกนหยิบสินค้าพร้อมยืนยันตำแหน่งหยิบสินค้าที่ถูกต้อง
MX8

การจ่ายสินค้า Shipping


1. Vehicle Mount Computers LXE VX series


แสกนจ่ายสินค้าขึ้นรถพร้อม Update Stock
LXE VX8

2. Handheld Computer LXE MX series


แสกนจ่ายสินค้าขึ้นรถพร้อม Update Stock
MX8


การนับสต๊อก Cycle count ,Physical count


1. Handheld Computer LXE MX series


แสกนสินค้าเพื่อนับสันค้าพร้อม update จำนวนสินค้า
MX8