วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จักบาร์โค๊ดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม บาร์โค้ด


บาร์โค้ด

บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง ( Barcode) คือ สัญญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเลขและตัวหนังสือ มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันโดยมีตัวเลขกำกับด้านล่าง หรือบาร์โค้ดที่เป็นลักษณะคล้ายรูปภาพ ซึ่งใช้หลักการสะท้อนแสงเพื่อถอดรหัสและเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก เพราะใช้ตรวจสอบ ระบุ และตรวจนับสินค้าหรือเอกสารได้สะดวก  เร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

Barcode
รหัสบาร์โค้ดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนลายเส้นซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด  ส่วนข้อมูลตัวอักษรเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่างเป็นส่วนที่ใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสง) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด

การกำหนดมาตรฐานบาร์โค้ด เป็นวิทยาการการออกแบบสัญญลักษณ์ (Symbol Technology)ที่เข้ารหัสแทนข้อมูล เพื่อให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ โดยที่รูปแบบของบาร์โค้ดมีหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติของรูปแบบเฉพาะที่จัดทำเป็นมาตรฐานบาร์โค้ด ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปีทศวรรษ พ.ศ. 2510 และมาตรฐานบาร์โค้ดที่มีใช้กันมาก คือ EAN (European Article Number) และ UPC (Universial Product Code)


บาร์โค้ดสองมิติ

เนื่องจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติสามารถอ่านจำนวนข้อมูลได้จำกัด ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการนำบาร์โค้ดสองมิติมาใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมาก รวมถึงการนำเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุ แทนที่เลเซอร์บาร์โค้ดในปัจจุบัน

บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่ รหัสคิวอาร์ (QR Code), ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix), รหัสอีซี (EZcode), รหัสแอซเทค (Aztec Code), เอ็มเอสแท็ก (MS Tag), และบาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์

2D Barcode
อ้างอิงข้อมูล : http://www.engineerfriend.com

เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลายรุ่น ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
เครื่องอ่านบาร์โค้ด


มารู้จัก Barcode ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม (ต่อ 2)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น